สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 มกราคม 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุมค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,300 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 24,050 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 687 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,754 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 661 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,042 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.93 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 712 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 419 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,877 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 397 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,238 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.54 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 639 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 416 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,778 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,338 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.00 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 440 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.1204 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ฟิลิปปินส์
กระทรวงการคลัง (the Department of Finance) แถลงว่า ในปี 2564 ฟิลิปปินส์นําเข้าข้าวประมาณ 2.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ประมาณไว้ 2.3 ล้านตัน
ทางด้านสำนักงานศุลกากร (The Bureau of Customs) รายงานว่า ในปี 2564 สามารถเก็บภาษีนําเข้าข้าวได้ประมาณ 1.005 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 21.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยระหว่างวันที่ 1-10 ธันวาคม 2564 สามารถจัดเก็บภาษีได้ประมาณ 350 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากประมาณ 288 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปี 2563
ทั้งนี้ รัฐบาลจะเก็บภาษีนําเข้าข้าวเพื่อสนับสนุนภาคการผลิตข้าวของประเทศผ่านกองทุนส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของข้าว (the Rice Competitiveness Enhancement Fund; RCEF) ตามที่ได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีข้าว (the Rice Tariffication Law; RTL) ซึ่งตามกฎหมายนี้ รัฐบาลได้กำหนดงบประมาณจำนวน 10 พันล้านเปโซ (ประมาณ 196 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ต่อปี เพื่อเป็นทุนสำหรับโครงการสนับสนุนชาวนา โดยจะใช้งบประมาณเพื่อช่วยเหลือทางการเงินแก่ชาวนา การไถพรวนพื้นที่เกษตรกรรม การขยายควาคุ้มครองการประกันภัยพืชผล และการส่งเสริมความหลากหลายทางพืชผล เป็นต้น
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาส่งออกข้าวยังคงปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2564 เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศลดลง ท่ามกลางภาวะการค้าข้าวที่ชะลอในช่วงเทศกาลวันหยุด โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 395-400 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 395-405 เหรียญสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ผู้ค้าข้าวระบุว่า ช่วงนี้อุปทานข้าวในตลาดกําลังลดน้อยลง และคาดว่าอุปทานข้าวจะยังคงลดลงจนกว่าจะเข้าสู่ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (the winter-spring harvest) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ระหว่างวันที่ 17-31 ธันวาคม 2564 มีเรือบรรทุกสินค้า (breakbulk ships) อย่างน้อย 8 ลำ เข้ามารอรับสินค้าข้าวที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City (HCMC) Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 110,450 ตัน
วงการค้าข้าวคาดว่า การส่งออกข้าวในปี 2564 จะมีประมาณ 6.2 ล้านตัน ลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ 6.2-6.5 ล้านตัน ขณะที่มูลค่าส่งออก คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ข้อมูลเบื้องต้นจากสำนักงานศุลกากร (the General Statistics Office) ระบุว่า ในเดือนธันวาคม 2564 เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 470,000 ตัน (มูลค่าประมาณ 242 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ลดลงประมาณร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยในปี 2564 มีการส่งออกข้าวได้ประมาณ 6.22 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2564 เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 574,017 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2564 ที่ส่งออกปริมาณ 622,598 ตัน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.28 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ส่งออกปริมาณ 339,078 ตัน
โดยในเดือนพฤศจิกายน 2564 ชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออก ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% ปริมาณ 144,219 ตัน ข้าวขาว 10% ปริมาณ 285 ตัน ข้าวขาว 15% ปริมาณ 12,310 ตัน ข้าวขาว 25% ปริมาณ 2,703 ตัน ปลายข้าวขาว ปริมาณ 9,681 ตัน ข้าวเหนียว ปริมาณ 83,700 ตัน ข้าวหอม ปริมาณ 297,713 ตัน และข้าวอื่นๆ ปริมาณ 23,406 ตัน โดยส่งไปยังตลาดในภูมิภาคต่างๆ ประกอบด้วย
1. ตลาดเอเชีย ปริมาณ 356,253 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% ปริมาณ 92,249 ตัน ข้าวขาว 10% ปริมาณ 285 ตัน ข้าวขาว 15% ปริมาณ 12,310 ตัน ข้าวขาว 25% ปริมาณ 2,703 ตัน ปลายข้าวขาว ปริมาณ 4,617 ตัน ข้าวเหนียว ปริมาณ 83,334 ตัน ข้าวหอม ปริมาณ 151,847 ตัน และข้าวอื่นๆ ปริมาณ 8,909 ตัน
2. ตลาดแอฟริกา ปริมาณ 159,079 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% ปริมาณ 20,325 ตัน ปลายข้าวขาว ปริมาณ 5,020 ตัน ข้าวหอม ปริมาณ 127,335 ตัน และข้าวอื่นๆ ปริมาณ 6,399 ตัน
3. ตลาดยุโรป ปริมาณ 7,301 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% ปริมาณ 466 ตัน ข้าวเหนียว ปริมาณ 180 ตัน ข้าวหอม ปริมาณ 6,029 ตัน และข้าวอื่นๆ ปริมาณ 627 ตัน
4. ตลาดอเมริกา ปริมาณ 33,576 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% ปริมาณ 30,539 ตัน ข้าวเหนียว ปริมาณ 138 ตัน ข้าวหอม ปริมาณ 2,179 ตัน และข้าวอื่นๆ ปริมาณ 721 ตัน
5. ตลาดโอเชียเนีย ปริมาณ 17,808 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% ปริมาณ 641 ตัน ปลายข้าวขาว ปริมาณ 44 ตัน ข้าวเหนียว ปริมาณ 49 ตัน ข้าวหอม ปริมาณ 10,324 ตัน และข้าวอื่นๆ ปริมาณ 6,750 ตัน
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (the Ministry of Agriculture and Rural Development) รายงานว่า
ในปี 2564 เวียดนามมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 43.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 1.1 ล้านตัน จากปี 2563 แม้ว่าพื้นที่ปลูกข้าวจะลดลงประมาณ 248,125 ไร่ แต่ผลผลิตต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นประมาณ 30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเทียบกับปี 2563
ทั้งนี้ มีการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 77 ทำให้สัดส่วนของข้าวคุณภาพสูงในการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 89 และช่วยให้ราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยในปี 2563 อยู่ที่ประมาณ 503 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน เพิ่มขึ้นจาก 496 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
สำหรับปี 2565 เวียดนามตั้งเป้าที่จะผลิตข้าวเปลือกประมาณ 43.0-43.9 ล้านตัน โดยในการปลูกข้าวในฤดูการผลิตฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (the winter-spring crop 2021-2022) ในพื้นที่ภาคใต้ และภาคเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว
ที่ใหญ่ที่สุด 2 แห่ง ได้มีการกำหนดแผนที่จะปลูกข้าวบนพื้นที่ประมาณ 10 ล้านไร่ และเกือบ 6.875 ล้านไร่ ตามลำดับ ขณะเดียวกัน บริเวณชายฝั่งทะเลภาคกลางตอนใต้ และที่ราบสูงตอนกลางของประเทศ จะมีการปลูกข้าวบนพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.664 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.387 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.796 ล้านไร่ ผลผลิต 32.499 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.318 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ลดลงร้อยละ 1.35 แต่ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 และร้อยละ 2.08 ตามลำดับ โดยเดือนมกราคม 2565 คาดว่า
จะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.48 ล้านตัน (ร้อยละ 19.81 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.30 ล้านตัน (ร้อยละ 62.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นและคุณภาพดี สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.43 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.45 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.27
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 245 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,114 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,142 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,146 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,217 บาทต่อตัน)

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 0.986 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.177 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.929 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.167 ล้านตันของเดือนธันวาคม 2564 คิดเป็นร้อยละ 6.14 และร้อยละ 5.99  ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 50.88 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 48.81 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.24               
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มมาเลเซียคาดว่าจะลดลงจากเดือน พ.ย. ร้อยละ 4.90 ไปอยู่ที่ 1.73 ล้านตัน สาเหตุมาจากผลผลิตที่ลดลง ผลผลิตคาดว่าจะลดลงร้อยละ 8.60 ไปอยู่ที่ 1.49 ล้านตัน เนื่องจากน้ำท่วมในพื้นที่ตะวันตกของมาเลเซีย (Peninsular Malaysia) ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 4.90 อยู่ที่ 1.40 ล้านตัน 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,369.46 ดอลลาร์มาเลเซีย (43.28 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 5,195.72 ดอลลาร์มาเลเซีย (42.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.34  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,317.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (44.18 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,351.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (45.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.50
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          Safras & Mercado เพิ่มการคาดการณ์การผลิตอ้อยปี 2565/2566 ในภาคกลาง-ใต้ของบราซิลเป็น 560 ล้านตัน จาก 540 ล้านตัน ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ดีในพื้นที่ปลูกอ้อย ในทำนองเดียวกัน ltau BBA คาดว่าผลผลิตอ้อยจะเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่ดี ในขณะเดียวกัน Cepea คาดว่าโรงงานจะให้ความสำคัญกับการผลิตเอทานอลในฤดูกาลที่จะถึงนี้ เนื่องจากราคาที่สูง แม้ว่าจะขึ้นอยู่กับความต้องการเชื้อเพลิงและราคาน้ำตาล
          สหพันธ์โรงงานน้ำตาลของอินเดีย รายงานว่า ในฤดูกาลนี้อินเดียจะสามารถส่งออกน้ำตาลได้มากกว่า 6 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 4 ล้านตัน ที่ได้ทำสัญญาไปแล้ว หากราคาน้ำตาลทรายดิบสูงกว่า 20 เซนต์/ปอนด์    และราคาน้ำตาลทรายขาวสูงกว่า 500 เหรียญสหรัฐ/ตัน ในขณะเดียวกัน Safras & Mercado คาดการณ์ว่าอินเดียจะส่งออกน้ำตาลทั้งหมด 7 ล้านตัน
          ผู้สังเกตการณ์ในตลาดคาดว่า ในขณะนี้ราคาน้ำตาลตลาดล่วงหน้าจะยังคงอยู่ในช่วงที่คาดการณ์ไว้แต่ในทางกลับกันราคาน้ำตาลได้รับแรงกดดันจากฝนที่ตกในพื้นที่ภาคกลาง-ใต้ของบราซิล และการผลิตที่เพิ่มขึ้นของอินเดีย ในขณะที่ราคาได้รับแรงหนุนด้านลบจากน้ำมันดิบ




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,377.08 เซนต์ (16.97 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,346.84 เซนต์ (16.66 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.25
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 425.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.28 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 414.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.80
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 58.22 เซนต์ (43.02 บาท/กก.)สูงขึ้นจากปอนด์ละ 56.42 เซนต์ (41.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.19 


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.00 บาท ร้อยละ 3.85
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.00 บาท ร้อยละ 7.50
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 909.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.11 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 901.75 ดอลลาร์สหรัฐ (29.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.14 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 787.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 811.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.96 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.88 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,275.00 ดอลลาร์สหรัฐ (42.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,265.00 ดอลลาร์สหรัฐ (42.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.19 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 695.67 ดอลลาร์สหรัฐ (23.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 690.00 ดอลลาร์สหรัฐ (22.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,147.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.99 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,229.00 ดอลลาร์สหรัฐ (40.84 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.67 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.85 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 115.30 เซนต์(กิโลกรัมละ 85.05 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 112.45 เซนต์ (กิโลกรัมละ 83.49 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.56 บาท)

 

 
ไหม

 

 
ปศุสัตว์
 
 

 
ตารางปศุสัตว์ ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
 

 
ประมง

 


ตารางประมง ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี